จักรยาน กับประโยชน์ที่ตามมามากมาย

จักรยานเป็นยานพาหนะที่นอกจากจะใช้ในการเดินทางแล้วหากเรามองอีกด้านจักรยานนั้นมีบทบาทที่ช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้เพราะประหยัดพลังงานและยังลดปัญหามลพิษลงได้ หากเรามีการใช้กันอย่างต่อเนื่องโลกเราก็จะลดปัญหารถติดลงไปได้ด้วย

1. ช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น   การปั่นจักรยานตอนเช้าช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับ เพราะในตอนเช้าร่างกายจะรับแสงแดดตามเวลาที่ร่างกายควรได้รับ ระบบต่างๆ จะทำงานปกติและเป็นเวลา 
จึงทำให้เรานอนหลับสบายมากขึ้น

2. พิทักษ์โลก  พื้นที่ในการจอดรถยนต์หนึ่งคัน สามารถใช้จอดจักรยานได้กว่า 20 คัน อีกทั้งในการผลิตจักรยานหนึ่งคันน้อยกว่ากำลังการผลิตรถยนต์ถึงห้าเท่าจึงทำให้ลดมลพิษในการผลิต

3. ลดความอ้วน   ช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย แต่เราจะเรียกว่า “After Burner” ซึ่งเป็นการเผาผลาญหลังจากการปั่นจักรยานเสร็จแล้วประมาณ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งเหล่านักปั่นจะใช้การออกแรงปั่นเร็วและช้าสลับกันเพื่อให้เกิดการเผาผลาญได้ดี

4. สร้างมิตรภาพที่ดี  เพราะสามารถชวนกันมาปั่นจักรยาน เพิ่มความสุขในการปั่นมากขึ้นและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันในเรื่องการปั่นจักรยานและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการปั่น

5. ประหยัดค่าใช้จ่าย  ช่วยให้ลดค่าใช่จ่ายการเดินทางได้เพราะการเดินทางในแต่ละวันต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นการนั่งรถโดยสารหรือการเติมน้ำมันรถยนต์ส่วนตัว

6. สุขภาพดี  การปั่นจักรยานเป็นเหมือนการออกกำลังกายทำให้สุขภาพดีขึ้นเพราะการปั่นช่วยพัฒนาระบบเลือดและระบบการหายใจ

สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจจะใช้จักรยานในการเดินทาง เพื่อช่วยลดพลังงาน หรือเพื่อการออกกำลังกายนั้น ลองมาดูการเลือกใช้จักรยานให้เหมาะสมกับการใช้งาน ดังนี้

1.  หากการใช้งานในระยะใกล้ไม่ถึง 5 กิโลเมตร อาจใช้เป็นจักรยานพับได้

2. ถ้าเป็นการปั่น ระยะ 20 กิโลเมตรขึ้นไป  ควรใช้เสือหมอบ เสือภูเขา หรือจักกรยานไฮบริด ที่มีเกียร์ หน้ายางใหญ่

3. หากต้องการจักรยานเพื่อการออกกำลังกาย ก็ต้องดูว่าเส้นทางปั่นที่เราจะนำไปใช้บ่อยๆ จะเป็นถนนรูปแบบไหน ถ้าเน้นปั่นในสวนที่ถนนเรียบ ก็เลือกใช้เป็นจักรยานเสือหมอบ ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ชอบความเร็ว น้ำหนักเบา แต่ถ้าชอบลุยป่า ขึ้นเขา ก็อาจเลือกเป็นจักรยานเสือภูเขา ที่เหมาะกับสภาพผิวถนน โดยรวมแล้วควรคำนึงถึงการใช้สอยเป็นหลัก

                การใช้จักรยานเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาจราจรมลพิษและพลังงาน  สสส.และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย รวมถึงภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมผลักดันนโยบายกฏหมาย กลไก และโครงสร้างที่ส่งเสริม สนับสนุน เอื้ออำนวยต่อการเดิน และการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พร้อมกับการเปลี่ยนค่านิยมพฤติกรรมของคนไทยทั่วไปให้เดินและใช้จักรยานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่เมือง

ขอบคุณเนื้อหาข่าว : ชมนภัส วังอินทร์  Team content www.thaihealth.or.th. 

ที่มา: เรียบเรียงข้อมูลจาก  วารสาร สารสองล้อ (สสส.) และข้อมูลเพิ่มเติมจาก ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

รายการล่าสุดที่คุณดู
Visitors: 842,013